วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

วิทยาการเรียนรู้


วิทยาการ คือ สิงที่เกิดขึ้นจากความสาสมารถของมนุษย์ในการคิดค้นและแสวงหา เพื่อสร้างควาสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต ทำให้สังคมมีความมั่งคงปลอดภัย และช่วยให้สังคมมีความกินดีอยู่ดีขึ้น ดังนั้น วิทยาการจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบหนึ่งค่ะ


ตัวอย่างวิทยาการ เช่น 
วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฏีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฏีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฏีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฏีเครือข่าย
ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน

    เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้


กฎหมายการศึกษา

คำว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" แม้มีใช้มานานในแวดวงวิชาการศึกษา แต่คำนี้ได้รับความสนใจมากขึ้น เมื่อ พรบ.การศึกษา พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในหมวด 9 โดยมี 7 มาตรา คือ มาตรา 63 - 69 มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาการนำคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษา สื่อการเรียนการสอน [2] ซึ่งแม้ว่าใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวถึง เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษา แต่ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีเพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น พรบ.การศึกษาเขียนเพื่อเป็นหลักประกันหรือบังคับให้รัฐนำสื่อสารมวลชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา
 การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

ปัจจัยที่กำหนดทิศทาง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา? (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2547 - 2549)
แผนแม่บทงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
การวิจัยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
การวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา
การวิจัยเพื่อสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
การวิจัยและพัฒนาการจัดหาความรู้และสาระทางการศึกษา
การวิจัยและพัฒนาสื่อ




การออกแบบการเรียนการสอน



การออกแบบ (Design)


เป็นกระบวนการของมนุษย์ทางด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการยกระดับความสามารถของตนเอง เพื่อดำเนินกิจกรรมใด ๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมและความต้องการ การออกแบบจึงเป็นกระบวนการที่มีเหตุผลเป็นตรรกะ และมีลำดับขั้น จุดมุ่งหมายของการออกแบบก็เพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยพิจารณาจากความต้องการ เพื่อกำหนดรายละเอียดของระบบใหม่ การออกแบบระบบการเรียนการสอนถือว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีกระบวนการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำระบบการเรียนการสอนไปใช้กับผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
Instructional Design is a Reality คือ
 การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการของความจริงซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งระบบการเรียนการสอนมาจากเหตุและผลบนพื้นฐานของความจริง



Instructional Design is a Process คือ


การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนโดยใช้วิธีการระบบตามหลักการศึกษาและทฤษฎีการเรียนการสอน เพื่อออกแบบบทเรียนให้มีคุณภาพ แต่ละขั้นตอนจึงมีความสัมพันธ์กันทั้งวัสดุการเรียนและกิจกรรมการเรียน ในขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นขั้นตอนของการประเมิน

 
Instructional Design is a Discipline คือ


 การออกแบบการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เกี่ยวกับการวิจัยและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างเป็นระบบและถูกต้อง


Instructional Design is a Science คือ


การออกแบบการเรียนการสอนเป็นวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนการออกแบบ การพัฒนา การทดลองใช้ การประเมินผล และการบำรุงรักษา ภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน




 

ส่วนคำว่า ระบบการเรียนการสอน (Instructional System) หมายถึง


 การจัดการเกี่ยวกับข้อมูลและการดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการออกแบบการเรียนการสอนนั่นเอง


การพัฒนาการเรียนการสอน (Instructional Development) หมายถึง กระบวนการทดลองใช้บทเรียนในขั้นตอนของการออกแบบ

เทคโนโลยีการเรียนการสอน (Instructional Technology) หมายถึง ระบบหรือเทคนิคที่ประยุกต์มาจากพฤติกรรม ความรู้ความสามารถ และทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเรียนการสอน เทคโนโลยีการเรียนการสอนจึงมีความหมายเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์หรือการใช้เครื่องมือเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้


   การออกแบบการเรียนการสอน การพัฒนาการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการเรียนการสอน จึงมีความสัมพันธ์กัน